send link to app

นกกรงหัวจุก app for iPhone and iPad


4.0 ( 1120 ratings )
Lifestyle
Developer: Chatree Bamrung
Free
Current version: 1.0, last update: 7 years ago
First release : 05 May 2015
App size: 15.51 Mb

เป็นแอพที่รวมทุกเรื่องที่เกี่ยวกับนกกรงหัวจุก ไม่ว่าจะเป็นเสียงนกกรงหัวจุกเอาไว้สอนลูกนก หรือเอาไว้ต่อ วิธีสอนนกหัวจุกร้องเพลง วิธีการดูแลนกและตารางการให้อาหาร
ความรู้พื้นฐานตำนานที่เกี่ยวกับนกกรงหัวจุก มีดังนี้
- ตำนานนกกรงหัวจุก
- กฏหมายเกี่ยวกับนกกรงหัวจุก
- วิธีดูเพศนก
- การผสมพันธุ์นกกรงหัวจุก
- การฝึกฝนเพื่อแข่งขัน
- การเลี้ยงดูนกกรงหัวจุกระยะต่างๆ
- การแข่งขันแบบสากล
- ลักษณะทั่วไป
- วิธีการดูแลนกกรงหัวจุก
- โรค สาเหตุ และการป้องกัน
นกปรอดหัวโขน หรือ นกปรอดหัวจุก หรือที่นิยมเรียกกันว่า นกกรงหัวจุก (อังกฤษ: Red-whiskered bulbul; พายัพ: นกปิ๊ดจะลิว; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pycnonotus jocosus) เป็นนกที่อยู่ในวงศ์นกปรอด (Pycnonotidae) ซึ่งอยู่ด้วยกันทั้งหมด 109 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบได้ 36 ชนิด
นกปรอดหัวโขนเป็นนกขนาดเล็ก ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร ที่มีสีสันสวยงามและเสียงร้องไพเราะ ที่แก้มและคอจนถึงหน้าอกจะมีสีขาวและมีสีแดงเป็นเส้นอยู่ข้างหูลงมาถึงหน้าอกเหมือนเป็นเส้นแบ่งขนสีขาวกับสีดำที่มีอยู่ทั่วทั้งตัวขนส่วนหัวจะร่วมกัน เป็นเหมือนหน่อตั้งอยู่บนหัวสูงขึ้นไปเหมือนหัวโขน อันเป็นที่มาของชื่อ ใต้ท้องมีขนสีขาว พบกระจายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงเอเชียตะวันออก
พบได้ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ตั้งแต่ยอดเขาสูง ป่าที่ราบต่ำ จนถึงทุ่งหญ้า ชายป่า และเขตที่ใกล้กับชุมนุมมนุษย์
มีชนิดย่อยทั้งหมด 9 ชนิด ดังนี้
P. j. jocosus พบในฮ่องกง
P. j. fuscicaudatus พบในตอนกลางของอินเดีย
P. j. abuensis พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย
P. j. pyrrhotis พบในตอนเหนือของอินเดีย ติดกับปากีสถาน, เนปาล และบังกลาเทศ
P. j. emeria พบในดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา
P. j. whistleri พบในหมู่เกาะอันดามัน
P. j. monticola พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของอินเดีย มีสีสันที่ดำกว่าชนิด P. j. pyrrhotis
P. j. pattanni พบในประเทศไทย
P. j. peguensis พบในตอนใต้ของพม่า
นกปรอดหัวโขน เป็นที่นิยมในแง่ที่เป็นสัตว์เลี้ยง ที่เลี้ยงเพื่อฟังเสียงร้องอันไพเราะ และเพื่อการแข่งขันเสียงร้อง เช่นเดียวกับนกเขาชวา (Geopelia striata) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ติดกับมาเลเซีย คือ นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา ซึ่งการเลี้ยงนกชนิดนี้เป็นเหมือนหนึ่งในวัฒนธรรมและวิถีการดำรงชีวิตของผู้คนที่นั่น นกปรอดหัวโขนหากได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกต้อง สามาถมีอายุยืนนานได้ถึง 11 ปี และนกตัวใดที่มีเสียงร้องไพเราะและได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดแข่งขัน อาจมีสนนราคาถึงหลักล้านบาท
ปัจจุบัน นกปรอดหัวโขน เป็นสัตว์ที่มีรายชื่ออยู่ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง แต่มีความพยายามของผู้ที่นิยมเลี้ยงผลักดันให้เป็นสัตว์ที่เลี้ยงได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งประเด็นนี้มีทั้งผู้ที่เห็นและคัดค้าน เนื่องจากจนถึงปัจจุบันนกปรอดหัวโขนที่เลี้ยงไว้เกือบทั้งหมดมาจากการจับจากธรรมชาติทั้งสิ้น ไม่ได้มาจากการเพาะเลี้ยงอย่างที่อ้างกัน ซึ่งการจับนกจากธรรมชาติเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นกชนิดนี้สูญพันธ์ไปจากธรรมชาติในภาคใต้ของประเทศไทย